ทางสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ฉะเชิงเทราได้รวมรวมประวัติและผลงานงานของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ในรูปแบบของ e-Book เพื่อประโยชน์ในการศึกษา เนื่องในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ครบรอบ ๕๐ ปี สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ฉะเชิงเทรา 

 

คลิกที่นี่ เพื่อเยี่ยมชมเว็บไซต์พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

 

เชิดชูผลงาน พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) ในวาระ ๒๐๐ ปีชาตกาล

 

            สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา สานต่อการเฉลิมฉลองครบ ๒๐๐ ปี ชาตกาล พระยาศรีสุทนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ให้ห้องสมุดทั่วประเทศ จัดมุม/นิทรรศการ ประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติ หลังองค์การยูเนสโกมีมติรับรองบุคคลสำคัญ

            นางพรพรรณ นินนาท เลขาธิการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ทางสมาชิกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รวบรวมข้อมูล ประวัติและผลงานของ พระยาศรีสุทนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ไว้ที่พิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา หอเชิดชูเกียติ “พระยาศรีสุทนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)” และ เว็ปไซต์ พระยาศรีสุนทรโวหารน้อยอาจารยางกูร.com ซึ่งผู้ที่เข้าไปศึกษา จะได้รับรู้ถึงประวัติความเป็นมาของท่านน้อย ผลงานเด่นที่เป็นที่ประจักษ์ที่ทำเพื่อประเทศชาติ จนได้รับยกย่องและเชิดชูเกียติ โดยองค์การยูเนสโก้ ได้ประกาศรับรองให้ พระยาศรีสุทนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นบุคคลดีเด่นด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ประจำปี ๒๕๖๕ และเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองประกาศเกียรติคุณ และเชิดชูเกียรติ ครบ ๒๐๐ ปี ชาตกาลของท่าน

            ทั้งนี้ จากคุณงานความดีที่ท่านน้อยได้สร้างคุณูปการไว้ และจังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเป็นจังหวัดเกิดของท่าน ทางจังหวัดฉะเชิงเทราจึงได้สร้างอนุสาวรีย์ขึ้น และยังมีมงคลอนุสรณ์ ที่ใช้ทินนามท่าน เพื่อเป็นที่ระลึกและแสดงความระลึกถึง โดยหนึ่งในนั้นก็คือ หอเชิดชูเกียติ “พระยาศรีสุทนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)” ที่ได้ดัดแปลงปรับปรุงจากเรือนรับรองฉะเชิงเทราเดิม มาเป็น หอเชิดชูเกียติ โดยนำประวัติ และเรื่องราวต่างๆของท่านน้อยมาเก็บรวบรวมเอาไว้ที่นี่ นับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของชาวฉะเชิงเทรา

            โดยหลังจากนี้ จะร่วมกันประสานห้องสมุดทุกจังหวัดทั่วประเทศ ร่วมจัดมุมห้องเชิดชูเกียรติ / นิทรรศการ “พระยาศรีสุทนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)” เนื่องในโอกาส ๒๐๐ ปี ชาตกาล ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ซึ่งจะเป็นอีกกิจกรรมที่จะเป็นการร่วมเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ พระยาศรีสุทนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ปราชญ์ภาษาไทย

ประวัติความเป็นมาของเว็บไซต์พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)             

            ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้มีกลุ่มคณะ ครูอาจารย์ และบรรดาศิษย์ของโรงเรียนดัดดรุณีจังหวัดฉะเชิงเทรา และโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ มีความเห็นพ้องกันว่า พระยาศรีสุนทรโวหาร  (น้อย อาจารยางกูร) เป็นบุคคลสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทราและของประเทศ สมควรเชิดชูเกียรติท่านให้เป็นที่แพร่หลาย โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการเสนอให้ท่านเป็นบุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้านการศึกษาหนังสือไทย และเป็นกวีปราชญ์ของชาติไทย ต่อมาได้มีบุคคลหลายภาคส่วนเข้ามาร่วมดำเนินงาน และได้จัดตั้งเป็นกลุ่มเชิดชูเกียรติพระยาศรีสุนทรโวหาร           (น้อย อาจารยางกูร)  มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์พระยาศรีสุนทรโวหาร             (น้อย อาจารยางกูร) โดยมีคุณครูสอิ้ง กานยะคามินเป็นประธานกลุ่ม

           ได้เริ่มดำเนินการสืบค้น รวบรวมเรียบเรียงประวัติและผลงานของท่านใหม่ รวบรวมเอกสารผลงานของท่าน พร้อมทั้งหาสถานที่ใช้เป็นหอเชิดชูเกียรติ ฯได้รับความเห็นชอบจากผู้ช่วยศาสตราจารย์เอนก เทพสุภรณ์-กุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ในสมัยนั้น ให้ใช้สถานที่บริเวณชั้นสามอาคารราชนครินทร์ เป็นที่ตั้งหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) 

           ในการดำเนินงานได้ประมาณการค่าใช้จ่ายครุภัณฑ์อุปกรณ์ต่าง ๆ  ประมาณ ๑,๕๑๐,๐๐๐ บาท ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะได้รับจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และเงินบริจาคที่คณะทำงานจะดำเนินการขอรับบริจาค แต่ต่อมานายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้จัดสัญจรมาที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และจะใช้จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นศูนย์กลางข้อมูลภาคตะวันนอก และกำหนดให้มหาวิทยาลัยราชภัฏ-ราชนครินทร์เป็นศูนย์กลาง  ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยขอเปลี่ยนแปลงสถานที่ในการจัดทำหอเชิดชูเกียรติฯ  คณะเชิดชูเกียรติฯ เห็นพ้องว่าควรหาสถานที่ใหม่

            ต่อมานายวีระชัย  ตนานนท์ชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร ได้อนุญาตให้ใช้ห้องมุขชั้นบนสุดของอาคารสร้างใหม่ของโรงเรียนเป็นหอเชิดชูเกียรติฯได้ แต่สถานที่ก็ยังไม่เหมาะสม

            ในระหว่างรวบรวมข้อมูลประวัติและติดตามรวบรวมเอกสารผลงานของท่าน มีการสืบค้นทายาทของตระกูลอาจารยางกูร ได้พบว่า นายอัมรินทร์ คอมันตร์ บิดาของนายอรรถดา  คอมันตร์ เป็นสายตระกูลจากคุณหญิงเล็ก คอมันตร์ ภรรยาคนแรกของพระยาพิพากษาสัตยาธิปไตย (โป๋ คอมันตร์) บุตรหญิงคนสุดท้องของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

             นายอัมรินทร์ คอมันตร์ ต้องการหาสถานที่ถาวรเป็นเอกเทศในการจัดตั้งหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) จึงสรรหาที่ดิน และบ้านเรือนไม้ทรงโบราณเพื่อนำมาดัดแปลงและประยุกต์เป็นอาคารหอจดหมายเหตุฯ  โดยมีเป้าหมายที่บ้านอินทราสา ซึ่งตั้งอยู่หลังอนุสาวรีย์พระยาศรีสุนทร-โวหาร (น้อย อาจารยางกูร) แต่บ้านหลังนี้การจัดการมรดกทรัพย์สินยังอยู่ในระหว่างชั้นศาล

              คณะเชิดชูเกียรติพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) ได้ดำเนินการต่อโดยขอใช้ที่ดินของราชพัสดุกรมธนารักษ์ในบริเวณวัดโสธรวรารามวรวิหาร แต่ไม่มีที่ดินว่าง ในที่สุดโครงการนี้จึงได้ยุติลงในปี     พ.ศ. ๒๕๕๗

             ในปี พ.ศ ๒๕๕๙ ชมรมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา โดยนายสมบูรณ์ เผ่าบรรจง ประธานชมรมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา ให้สมาชิกเสนอโครงการร่วมฉลองครบรอบ ๑๐๐ปี แห่งการประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี ดร.วรางภรณ์ ไตรติลานันท์ และสมาชิกกลุ่มเชิดชูเกียรติพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อยอาจารยางกูร) ได้เสนอโครงการเชิดชูเกียรติพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) ซึ่งท่านเป็นบุคคลสำคัญทางการศึกษาของไทย และเป็นชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีชื่อปรากฏในคำขวัญของจังหวัดฉะเชิงเทราด้วย ที่ประชุมมีมติรับที่จะสืบสานโครงการนี้มาดำเนินการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะบุคคลกลุ่มเชิดชูเกียรติ พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) ให้เป็นผลงานของชมรมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ฉะเชิงเทรา

            ต่อมาชมรมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ฉะเชิงเทรา ได้จดทะเบียนเป็นสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ฉะเชิงเทรา  และได้พยายามหาสถานที่จัดตั้งหอจดหมายเหต และพิพิธภัณฑ์พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร)  แต่ยังไม่สามารถหาสถานที่ที่เหมาะสมได้   นายสมบูรณ์  เผ่าบรรจง   นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา  ได้เริ่มแนวความคิดใหม่เพราะเห็นว่ามีเอกสารทั้งประวัติและผลงานของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) มากมายที่สมควรนำมาเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และจะก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับบุคคลที่สนใจศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพระยาศรีสุนทรโวหาร      (น้อย อาจารยางกูร) นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ฉะเชิงเทรา  จึงนำเสนอความคิดให้สร้างเว็บไซต์  เพราะสมาคมฯ มีบุคคลากรที่พร้อมจะดำเนินการทั้งในด้านเทคโนโลยี  ด้านข้อมูลและเอกสาร  จึงมอบหมายให้ นางสาวชลธิชา  นิลพัทธ์  รับผิดชอบด้านเทคโนโลยี  นางพรพรรณ  นินนาท  เป็นผู้ประสานงาน  และมีประกาศแต่งตั้งกองบรรณาธิการจัดทำเว็บไซต์พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)  เมื่อวันที่       ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐ โดยมีนายสมบูรณ์  เผ่าบรรจง  นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา   และนางพรพรรณ นินนาท  เลขาธิการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา เป็นบรรณาธิการอำนวยการ  แต่งตั้งคณะบรรณาธิการที่ปรึกษาและแต่งตั้งกองบรรณาธิการเป็นคณะทำงาน  มีผู้ช่วยศาสตราจารย์พรเลขา ตุลารักษ์ เป็นประธานกองบรรณาธิการ

               คณะทำงานโครงการทั้งหมดได้ช่วยกันขับเคลื่อนงานด้วยการสืบสานปณิธานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกัน  และเชิญบุคคลภายนอกจำนวนมากมาให้คำปรึกษาด้านข้อมูลต่างๆ  มีการสืบค้นข้อมูลนอกสถานที่ ได้แก่ หอสมุดแห่งชาติ  หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร  หอสมุดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  หอจดหมายเหตุแห่งชาติ  วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร  สำนักพิมพ์ต้นฉบับและสถานที่อื่น ๆ อีกทั้งติดต่อขออนุญาตสำนักพิมพ์และส่วนงานอื่น ๆ อีกหลายแห่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลเพื่อบรรจุในเว็บไซต์ ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)  ในรูปแบบ E-Book ให้มีความถูกต้อง แม่นยำ สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะสืบค้นได้ในปัจจุบัน และหวังที่จะเผยแพร่ประวัติและผลงานของท่านออกไปอย่างกว้างขวางอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อบุคคลทั่วไปและประเทศชาติทั้งในปัจจุบันและอนาคตสืบไป

คลิกที่นี่ เพื่อเยี่ยมชมเว็บไซต์พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

Homepage      

ประวัติชมรม  

พระยาศรีสุนทรโวหาร
Mini MBA    
กิจกรรม
รายงานการประชุมประจำปี 
งานประจำปี
เพลง

        แด่คุณสมบูรณ์

 

ข่าวประชาสัมพันธ์

8

ตุลาคม

 

 

 

งานจามจุรีบานสะพรั่ง

ริมฝั่งบางปะกง

(จุฬาประชาสโมสร)

ณ วัดจีนประชาสโมสร

 

13

ตุลาคม

 

 

 

 วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

 

23

ตุลาคม

    วันปิยมหาราช